|
|
|
เดิมประชาชนส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นมาจาก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2409 โดยครัวเรือนที่อพยพมา จำนวน 12 ครัวเรือน สาเหตุการย้ายถิ่นเนื่องจากอยู่ถิ่นเดิมได้รับความลำบากไม่มีที่ทำกิน
เป็นของตนเอง จึงอพยพมาหาถิ่นที่อยู่ใหม่ เพื่อใช้ทำมาหากิน เริ่มต้นด้วยการแผ้วกางป่าสร้างที่อยู่อาศัยเป็นกระต๊อบ หรือเพิงอยู่ตามอัตภาพ
โดยใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นพื้นฝา และหลังคามุงด้วยใบตอนพวงหรือหญ้าคา ลักษณะการตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายไม่เป็นแนวเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึง |
|
|
|
ถนนหนทางว่าจะตัดในลักษณะใด ส่วนบริเวณหัวหมู่บ้านนั้นมีลำห้วยไหลผ่านตลอดปี แต่เดิมลำห้วยนั้นไม่มีชื่อเรียกมีอยู่สองสาย คือ ลำห้วยสายเล็ก และลำห้วยสายใหญ่ ซึ่งภายหลังได้มีการตั้งชื่อลำห้วยทั้งสองสายนี้ คือ ลำห้วยสายใหญ่ชื่อเรียกว่า “ห้วยแม่กุหลวง” ลำห้วยสายเล็กมีชื่อเรียกว่า “ห้วยแม่กุน้อย” ซึ่งชื่อของลำห้วยทั้งสองสายที่มาจาก บริเวณต้นน้ำของลำห้วยทั้งสองสายนี้มีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงมาตั้งแต่ถิ่นอาศัยก่อน ประมาณ 4-5 หลังคาเรือน โดยมีนายพะกุโพเป็นหัวหน้า
เผ่ากระเหรี่ยงในเวลานั้น ดังนั้น จึงตั้งชื่อห้วยทั้งสองสายนี้ให้พ้องกับชื่อนายพะกุโพ จึงเรียกลำห้วยทั้งสองสายนี้ว่า “ห้วยแม่กุ” ต่อมามีผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ เข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้นจนเกิดเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ และขยายตัวจนจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ตำบลแม่กุ และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมมีฐานะ
เป็นสุขาภิบาลตำบลแม่กุตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 เมื่อวันที่
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาล
เป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล
เป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา |
|
|
|
|
|
สำนักงานเทศบาลตำบลแม่กุ ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่กุ
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110 ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมือง จังหวัดตาก
ไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข105 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 รวมระยะทางประมาณ
98 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร และมีพื้นที่ปกครอง 8.32 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,200 ไร่ |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กุ หมู่ที่ 7, 8 ตำบลแม่กุ |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กุ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กุ |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กุ หมู่ที่ 2, 8 ตำบลแม่กุ |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กุ หมู่ที่ 2, 7 ตำบลแม่กุ |
|
|
อบต.แม่กุ หมู่ที่ 7, 8 ตำบลแม่กุ |
อบต.แม่กุ หมู่ที่ 2, 7 ตำบลแม่กุ |
|
อบต.แม่กุ หมู่ที่ 2, 8 ตำบลแม่กุ |
อบต.แม่กุ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กุ |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,280 คน แยกเป็น |
|
ชาย จำนวน 3,090 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.20 |
|
หญิง จำนวน 3,190 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.80 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,729 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 57.52 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน ครัวเรือน |
2 |
บ้านผาลาด |
523 |
549 |
1,072 |
564 |
6 |
บ้านแม่กุใต้ |
362 |
376 |
738 |
346 |
7 |
บ้านแม่กุน้อย |
653 |
661 |
1,314 |
559 |
8 |
บ้านแม่กุเหนือ |
491 |
535 |
1,026 |
436 |
11 |
บ้านแม่กุบูรพา |
694 |
714 |
1,408 |
570 |
12 |
บ้านใหม่ดอนชุมภู |
367 |
355 |
722 |
254 |
|
รวม |
3,090 |
3,190 |
6,280 |
2,729 |
|
|
|
|
คู่มือประชาชน |
 |
|
|
|
Knowledge Management |
 |
|
|
|
|
|
|
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ |
 |
|
|
|
ประมวล ผลสำรวจ |
 |
|
|
|
|
|
|